ความเชื่อของคนไทยมีมาช้านานแล้ว คือเรื่องฤกษ์ พิธีกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฤกษ์การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ฤกษ์งานแต่งงาน ฤกษ์การลงเสาเข็มในการปลูกบ้าน ฤกษ์การเข้าอยู่อาศัยในบ้าน รวมถึงฤกษ์ออกรถใหม่ สิ่งต่างๆเหล่านี้ หากจะทำคนไทยส่วนใหญ่ต้องดูฤกษ์ งามยามดีก่อน เพราะสิ่งต่างๆเหล่านี้จะผูกพันธ์กับผู้ใช้งาน หรือผู้เป็นเจ้าของ หากสิ่งต่างๆเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือรถ หากถูกโฉลกกับผู้เป็นเจ้าของแล้ว จะทำให้เกื้อหนุนดวงชะตา ซึ่งกันและกัน ทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง มีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ฉะนั้นหากจะกล่าวว่า ฤกษ์ออกรถใหม่เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญสำหรับผู้ที่จะเป็นเจ้าของรถคงไม่ผิดเพี้ยน วันนี้เรานำ ฤกษ์ออกรถใหม่ ต่างๆที่เหมาะกับการออกรถใหม่มาให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาเลือกให้เหมาะสม กับวันเดือนปีเกิดของตนเอง ในตำราโหราศาสตร์ฤกษ์ออกรถ จะแนะนำหรือห้ามออกรถในวันใดนั้น จะพิจารณาร่วมกับ ลักษณะความเป็นอยู่ ของดาวประจำวันนั้น ๆ สรุปดังนี้
ไม่ควรซื้อรถวันอาทิตย์ โบราณท่านว่า ใครซื้อรถในวันอาทิตย์ จะทำให้มีเรื่องร้อนใจหรือต้องเดือดร้อนมาก ท่านแนะนำว่า ให้รีบขายไปเสียเพราะการซื้อรถหรือยานพาหนะในวันอาทิตย์มักเกิดเรื่องไม่ดี เลย
ควรซื้อรถวันจันทร์ ตามตำราท่านว่า ใครซื้อรถวันจันทร์มักโชคดีได้ลาภอยู่เสมอ ทำธุรกิจหรือค้าขายมีกำไรมากบางครั้งมีลาภลอยมาหาอย่างนึกไม่ถึง
ไม่ควรซื้อรถวันอังคาร ในตำราโหราศาสตร์กล่าวไว้ว่า ใครที่ซื้อรถหรือยานพาหนะในวันอังคารมักจะมีเรื่องเดือดร้อน ทำให้เป็นทุกข์มีปัญหาทำให้เสียเงินทอง บางรายประสบอุบัติเหตุอย่างร้ายแรง ก็ปรากฏให้เห็นบ่อย
ไม่ควรซื้อรถวันพุธ เป็นความเชื่อมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายว่า ใครที่ซื้อรถวันพุธมักจะมีปัญหาต่าง ๆ จนต้องเป็นหนี้สินเขาตลอดด้วยเหตุ นี้เองท่านจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการซื้อ รถหรือจองรถในวันพุธ
ไม่ควรซื้อรถวันพฤหัสบดี โบราณท่านว่า ใครที่ซื้อรถหรือยานพาหนะในวันครูจะทำให้ธุรกิจ หรือการค้าขายเกิดมีปัญหา มีอุปสรรคไม่คล่องตัวอย่างแต่ก่อน และที่สำคัญอาจเกิดเรื่องไม่สบายใจ
ควรซื้อรถวันศุกร์ ตามตำราโหราศาสตร์ไทยท่านว่า ใครที่ซื้อรถหรือยานพาหนะในวันศุกร์ มักมีโชค มีลาภอยู่เสมอ ทำการอะไรก็สะดวกอย่างน่าอัศจรรย์ โดยเฉพาะ จะมีลาภและยศกำลังรอท่านอยู่
ไม่ควรซื้อรถวันเสาร์ ตามตำราโหราศาสตร์ไทยท่านว่า ใครที่ซื้อรถวันเสาร์ ถือเป็นเรื่องร้ายแรงมาก เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุถึงกับชีวิตได้ด้วยเหตุนี้ผู้หลักผู้ใหญ่ในสมันก่อน จึงมักห้ามลูกหลานไม่ให้ซื้อรถและเรือในวันนี้เพาะความเชื่อดังกล่าว
ไม่ควรซื้อรถวันพระ เป็นความเชื่อมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ไม่ให้ซื้อรถซื้อเรือในวันพระ เพราะอาจจะทำให้ไม่สบายหรือล้มป่วยได้ ศัตรูหรือคู่แข่งจะพากันอิจฉาและอาฆาต
เข้าใจว่าเป็นกุศโลบาย เกี่ยวกับการเลี่ยงวันมงคลที่ตรงกับวันพระ ให้คนได้เข้าวัดทำบุญ เพราะไม่ต้องวุ่นอยู่กับการออกรถ หรือการมงคลที่จะมี เพราะสมัยก่อนการมงคลจะเตรียมการ ใช้เวลาและคนหรือชาวบ้านร่วมช่วยงานจำนวนมาก ถ้าไปช่วยงานกันหมดก็จะไม่มีใครไปวัดในวันพระ อีกอย่างคือพระก็ไม่ต้องรับกิจนิมนต์ ได้ทำวัตรสวดมนต์ หรืออยู่ที่วัดในช่วงวันพระด้วย
เข้าใจว่าเป็นกุศโลบาย เกี่ยวกับการเลี่ยงวันมงคลที่ตรงกับวันพระ ให้คนได้เข้าวัดทำบุญ เพราะไม่ต้องวุ่นอยู่กับการออกรถ หรือการมงคลที่จะมี เพราะสมัยก่อนการมงคลจะเตรียมการ ใช้เวลาและคนหรือชาวบ้านร่วมช่วยงานจำนวนมาก ถ้าไปช่วยงานกันหมดก็จะไม่มีใครไปวัดในวันพระ อีกอย่างคือพระก็ไม่ต้องรับกิจนิมนต์ ได้ทำวัตรสวดมนต์ หรืออยู่ที่วัดในช่วงวันพระด้วย
วันที่ควรซื้อรถหรือยานพาหนะมี 2 วันคือ วันจันทร์ และ วันศุกร์ เท่านั้น สำหรับท่านที่เกิด วันอาทิตย์ วันที่ควรซื้อรถหรือจองรถมีเพียงวันเดียว คือวันจันทร์ (ส่วนวันศุกร์นั้นเป็นวันกาลกิณี ของคนที่เกิดวันอาทิตย์ ต่อให้ฤกษ์ดีอย่างไรก็ย่อมไร้ผลให้หลีกเลี่ยงเสีย) ส่วนคนที่เกิด วันอังคาร วันที่ควรซื้อรถหรือจองรถมีเพียงวันเดียว คือ วันศุกร์ (ส่วนวันจันทร์นั้นเป็นวันกาลกิณี ของคนที่เกิดวันอังคาร ต่อให้ฤกษ์ดีอย่างไรก็ย่อมไร้ผลให้หลีกเลี่ยงเสีย)
ฤกษ์ออกรถ วันในการออกรถ
ข้อมูลข้างต้นเราได้กล่าวถึง วันในการออกรถ ว่าควรออกวันไหน วันไหนไม่ควรออก สำหรับหัวข้อนี้ จะกล่าวถึง วันใดบ้างที่เหมาะสมกับการออกรถ โดยใช้ดวงวันเกิดของผู้เป็นเจ้าของดูว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับการออกรถวันใดบ้าง
คนเกิดวันอาทิตย์ | ห้ามใช้ฤกษ์ออกรถวันศุกร์ ต่อให้ฤกษ์ดีอย่างไรก็ไร้ผล ควรหลีกเลี่ยง |
คนเกิดวันจันทร์ | ห้ามใช้ฤกษ์ออกรถวันอาทิตย์ ต่อให้ฤกษ์ดีอย่างไรก็ไร้ผล ควรหลีกเลี่ยง |
คนเกิดวันอังคาร | ห้ามใช้ฤกษ์ออกรถวันจันทร์ ต่อให้ฤกษ์ดีอย่างไรก็ไร้ผล ควรหลีกเลี่ยง |
คนเกิดวันพุธ(กลางวัน) | ห้ามใช้ฤกษ์ออกรถวันอังคาร ต่อให้ฤกษ์ดีอย่างไรก็ไร้ผล ควรหลีกเลี่ยง |
คนเกิดวันพุธ(กลางคืน) | ห้ามใช้ฤกษ์ออกรถวันพฤหัสบดี ต่อให้ฤกษ์ดีอย่างไรก็ไร้ผล ควรหลีกเลี่ยง |
คนเกิดวันพฤหัสบดี | ห้ามใช้ฤกษ์ออกรถวันเสาร์ ต่อให้ฤกษ์ดีอย่างไรก็ไร้ผล ควรหลีกเลี่ยง |
คนเกิดวันศุกร์ | ห้ามใช้ฤกษ์ออกรถวันพุธ(กลางคืน) ต่อให้ฤกษ์ดีอย่างไรก็ไร้ผล ควรหลีกเลี่ยง |
คนเกิดวันเสาร์ | ห้ามใช้ฤกษ์ออกรถวันพุธ(กลางวัน) ต่อให้ฤกษ์ดีอย่างไรก็ไร้ผล ควรหลีกเลี่ยง |
วันที่ออกรถ คือวันแรกที่ขับรถออกจากศูนย์ หรือเต้นท์ขับไปใช้จริงๆ เริ่มต้นใช้จริงในทางพฤตินัย ไม่ได้หมายถึงทดลองขับหรือ วันเปลี่ยนเจ้าของในทางทางนิตินัย เพราะการซื้อระยะผ่อนอาจยาวนาน 4-5 ปี กว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งระหว่างใช้รถนั้นอยู่อาจเกิดเหตุก็ได้ จึงนับวันที่ขับไปใช้จริงๆตั้งต้น
ฤกษ์ออกรถ เวลาที่ควรนำรถออกจากโชว์รูมหรือเต้นท์
วันอาทิตย์ | ควรนำรถออกเวลา 06.01 น. ถึง 08.24 น.(อาทิตย์ สี่ศูนย์ ฤกษ์ดีมาก) และช่วงเวลา 13.13 น. ถึง 15.36 น. (อาทิตย์ สองศูนย์ ให้โชคลาภ) |
วันจันทร์ | ควรนำรถออกเวลา 08.25 น. ถึง 10.48 น. (จันทร์ สี่ศูนย์ ฤกษ์ดี) และช่วงเวลา 15.37 น. ถึง 18.00 น. (จันทร์ สองศูนย์ ให้ลาภและมีเสน่ห์) |
วันอังคาร | ควรนำรถออกเวลา 10.49 น. ถึง 13.12 น. (อังคาร สี่ศูนย์ ฤกษ์ใช้ได้) และช่วงเวลา 06.01 น. ถึง 08.24 น (อังคาร สองศูนย์ ช่วงเวลานี้พอใช้ได้) |
วันพุธ | ควรนำรถออกเวลา 13.13 น. ถึง 15.36 น. (พุธ สี่ศูนย์ ฤกษ์ปานกลาง) และช่วงเวลา 08.25 น. ถึง 10.48 น. (พุธ สองศูนย์ มีโอกาสได้ลาภ) |
วันพฤหัสบดี | ควรนำรถออกเวลา 15.37 น. ถึง 18.00 น.(พฤหัสบดี สี่ศูนย์ มีโชคลาภ) และช่วงเวลา 10.49 น. ถึง 13.12 น. (พฤหัสบดี สองศูนย์ ฤกษ์ปลอดภัย) |
วันศุกร์ | ควรนำรถออกเวลา 06.01 น. ถึง 08.24 น. (ศุกร์ สี่ศูนย์ ฤกษ์ดีมาก) และช่วงเวลา 13.13 น. ถึง 15.36 น. (ศุกร์ สองศูนย์ ให้โชคลาภ) |
วันเสาร์ | ตามหลักโหราศาสตร์ ถือเป็นวันดุ หรือวันแรงโบราณ ท่านว่าห้ามนำรถ หรือยานพาหนะออกจากเต้นท์ หรือจากอู่ ควรหลีกเลี่ยง |
รายละเอียดข้างต้นเป็นกฏเกณฑ์แต่โบราณ ถ้ายึดถือได้ไม่ยุ่งยากเกินไปก็ให้ทำครับ หรืออีกแนวทางนึงที่ผมเองใช้เป็นประจำ หรือแนะนำใครก็ตามที่จะออกรถ ขั้นตอนไม่ยุ่งยากซับซ้อนทำได้ด้วยตัวเอง เพราะถือว่าจะดี จะร้ายดวงคน หรือกรรมสำคัญกว่า ตรงนี้เสริมเพื่อความเป็นมงคลและเป็นกำลังใจที่ดี ผมขอเขียนเป็นหัวข้อหลักๆ สรุป ดังนี้
สีรถดี เลี่ยงสีภูมิกาลกิณี อย่างเดียว สีที่เหลือใช้ได้หมด , สีรถที่ถูกโฉลกกับวันเกิด
สีรถดี เลี่ยงสีภูมิกาลกิณี อย่างเดียว สีที่เหลือใช้ได้หมด , สีรถที่ถูกโฉลกกับวันเกิด
วันออกรถดี
ดูตามปฏิทินช่วงวันเดือน ปี 2556 คลิ๊กดูปฏิทินฤกษ์ดี กันยายน-ตุลาคม 2556 ดูวันที่เป็น ดิถีมหาโชค วันกาลโยค วันลอย วันฟู หรือ ฤกษ์บน และให้ หลีกเลี่ยง วันแรง เช่น กระทิงวัน (วันเดือนปี ค่ำ เป็นเลขเดียวกัน เช่น วันอังคาร ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓) , และ ขึ้นแรม ๘ ค่ำ ดิถีอัคนิโรธ ลงรถ , หลีกเลี่ยง วันเสาร์ , วันอาทิตย์ , วันอังคาร และ วันพุธ
ดูตามปฏิทินช่วงวันเดือน ปี 2556 คลิ๊กดูปฏิทินฤกษ์ดี กันยายน-ตุลาคม 2556 ดูวันที่เป็น ดิถีมหาโชค วันกาลโยค วันลอย วันฟู หรือ ฤกษ์บน และให้ หลีกเลี่ยง วันแรง เช่น กระทิงวัน (วันเดือนปี ค่ำ เป็นเลขเดียวกัน เช่น วันอังคาร ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓) , และ ขึ้นแรม ๘ ค่ำ ดิถีอัคนิโรธ ลงรถ , หลีกเลี่ยง วันเสาร์ , วันอาทิตย์ , วันอังคาร และ วันพุธ
การเลือกแบบนี้เป็นแบบเดียวกับดูฤกษ์วันดี วันแต่งงาน หรือวันมงคลปรกติ แต่มีเงื่อนไขต่างกันบ้าง (ใช้ฤกษ์บนเป็นเรื่องยุ่งยากมักใช้ในการสำคัญๆ เท่านั้น จึงนิยมใช้ใช้ดิถีจันทร์หรือฤกษ์ล่างเป็นส่วนใหญ่ เพราะดูค่ำแรม จะสะดวกกว่า หรืออาจดูประกอบด้วยก็ได้)
เวลาดี
เมื่อได้วันดีแล้วก็ดูเวลาดี จะยึดถือตาม ยามอุบากองก็ได้ เพราะสะดวกดูง่าย ซึ่งรายละเอียดเวลาที่ควรนำรถออกจากโชว์รูมหรือเต้นซ์ ด้านบน เช่น
วันศุกร์ ยามอุบากอง ช่วงเวลาตั้งแต่ 06.01 น. ถึง 08.24 น. เป็น สี่ศูนย์ ( สี่ศูนย์ : จะพูนผล แม้จรดลดีหนักหนา มีลาภล้นคณนา เร่งยาตราจะมีชัย) เลือกช่วงเวลา ที่นาทีลงท้าย ด้วยเลข 9 เช่น 06.09 น. ,06.19 น. , 06.59 น. … 08.19 น. เป็นต้น ดูเพิ่มเติม >> ยามอุบากอง
เมื่อได้วันดีแล้วก็ดูเวลาดี จะยึดถือตาม ยามอุบากองก็ได้ เพราะสะดวกดูง่าย ซึ่งรายละเอียดเวลาที่ควรนำรถออกจากโชว์รูมหรือเต้นซ์ ด้านบน เช่น
วันศุกร์ ยามอุบากอง ช่วงเวลาตั้งแต่ 06.01 น. ถึง 08.24 น. เป็น สี่ศูนย์ ( สี่ศูนย์ : จะพูนผล แม้จรดลดีหนักหนา มีลาภล้นคณนา เร่งยาตราจะมีชัย) เลือกช่วงเวลา ที่นาทีลงท้าย ด้วยเลข 9 เช่น 06.09 น. ,06.19 น. , 06.59 น. … 08.19 น. เป็นต้น ดูเพิ่มเติม >> ยามอุบากอง
เรื่องเวลาแนะนำอีกนิดครับ ตำรากำหนดช่วงเวลาไว้ ปัจจุบันให้พิจารณาอีกอย่างครับ เรื่องการจราจร เช่น วันศุกร์ ยามอุบากองบอก ช่วงเวลาตั้งแต่ 06.01 น. ถึง 08.24 น. ถ้าเลือกนัดเวลาได้เลือก เช้าที่สุด เพราะถ้าเลือกช่วง ใกล้ๆ 8 โมงเช้า โดยเฉพาะใน กรุงเทพฯ อาจรถติดหรือการจราจรคับคั่งเกินไป มือใหม่ หรือรถยังไม่คุ้นมืออาจทำให้ประหม่า ช่วงเวลาอื่นๆ วันอื่นๆเลือกตามเหมาะสมครับ
ดูทิศทางที่ดี
ในที่นี้หมายถึง หลีกเลี่ยง ทิศผีหลวง ทิศหลาวเหล็ก ของวันนั้น ๆ ก่อนออกให้จอดรถตั้งตรงไปทาง ทิศอื่นๆ ที่ไม่ใช่ ทิศผีหลวง ทิศหลาวเหล็ก ของวันนั้นๆก่อน มักเลือกทิศเหนือ และตะวันออก แล้วค่อยขับรถออก หรือขับเลี่ยงไปก่อนค่อยไปยังทางออก
ในที่นี้หมายถึง หลีกเลี่ยง ทิศผีหลวง ทิศหลาวเหล็ก ของวันนั้น ๆ ก่อนออกให้จอดรถตั้งตรงไปทาง ทิศอื่นๆ ที่ไม่ใช่ ทิศผีหลวง ทิศหลาวเหล็ก ของวันนั้นๆก่อน มักเลือกทิศเหนือ และตะวันออก แล้วค่อยขับรถออก หรือขับเลี่ยงไปก่อนค่อยไปยังทางออก
การดู ทิศผีหลวง ทิศหลาวเหล็ก นี้คนโบราณยึดถือกันมาก ใช้เช่นเดียวกันกับ ทิศทางการตั้งขบวนขันหมาก ตั้งหัวขันหมาก ทิศทางการออกจากวัดหลังลาสิกขาบท การนั่งหันหน้าในวงพนัน ทิศทางการปล่อยไก่ชนไก่ ทิศทางที่นักมวยก้าวเข้าสังเวียนหรือก้าวย่ำเท้าออกจากมุม และอื่นๆ
วันอาทิตย์ | ผีหลวง หลาวเหล็ก อยู่ทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือ และ ตะวันตก ให้ใช้ทิศเหนือ ,ทิศตะวันออก หรือทิศอื่นๆ แทน |
วันจันทร์ | ผีหลวง หลาวเหล็ก อยู่ทิศ ตะวันออก ให้ใช้ทิศเหนือ หรือทิศอื่นๆ แทน |
วันอังคาร | ผีหลวง หลาวเหล็ก อยู่ทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ และ เหนือ ให้ใช้ทิศตะวันออก หรือทิศอื่นๆ แทน |
วันพุธ | ผีหลวง หลาวเหล็ก อยู่ทิศ เหนือ ให้ใช้ทิศตะวันออก หรือทิศอื่นๆ แทน |
วันพฤหัสบดี | ผีหลวง หลาวเหล็ก อยู่ทิศ ทิศใต้ ให้ใช้ทิศเหนือ ,ทิศตะวันออก หรือทิศอื่นๆ แทน |
วันศุกร์ | ผีหลวง หลาวเหล็ก อยู่ทิศ ตะวันตก ให้ใช้ทิศเหนือ ,ทิศตะวันออก หรือทิศอื่นๆ แทน |
วันเสาร์ | ผีหลวง หลาวเหล็ก อยู่ทิศ ตะวันออกเฉียงใต้ และ ตะวันออก ให้ใช้ทิศเหนือ หรือทิศอื่นๆ แทน |
การเลือกทิศผีหลวง หลาวเหล็ก โบราณมักแนะนำให้ใช้ทิศ ที่มีชื่อเป็นมงคล เช่น เหนือ , ตะวันออก(ออก) ความหมายเป็นเชิงบวก ไม่นิยมใช้ทิศ ใต้ , ตะวันตก(ตก) ความหมายเป็นเชิงลบ
ในวันที่ออกรถ ผมจะเตรียมพระพุทธรูปเล็กๆที่พอจะวางหรือเก็บไว้ประจำรถได้ 1 องค์ อาจพระเครื่อง พระเหรียญก็ได้ พร้อมพวงมาลัยดอกไม้ 3 พวง อาจมีธูปเที่ยนด้วยก็ได้ พวงมาลัย พวงแรก ผมจะใช้ไหว้พระ และเจ้าที่เจ้าทางสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ศูนย์รถหรือเต้นท์รถนั้นๆ ก่อนออกรถ บอกกล่าวขอพร ขอฤกษ์ขอชัย ขอศิริมงคล ,พวงมาลัย พวงที่สอง และ พระพุทธรูป วางที่รถ ไหว้พระ บอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำรถ เพราะรถก็เหมือนเกวียน เหมือนเรือ ที่โบราณเชื่อว่ามีแม่ย่านางหรือเทวดาดูแลอยู่ เมื่อได้เวลาออกรถ สตาร์ตรถ ก่อนออกรถตั้งสติตั้งสมาธิให้ดี บีบแตร 3 ครั้ง แล้วขับรถตามทิศทางที่เลือกไว้ส่วนพวงมาลัย พวงที่ 3 ผมจะใช้ไหว้พระ และบอกกล่าว ขอพร ขอฤกษ์ขอชัย ขอศิริมงคล เจ้าที่เจ้าทางสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บ้าน หรือที่ที่รถจะไปอยู่ประจำ ก็เป็นอันเสร็จสิ้นในส่วนของออกรถ ตรงนี้เป็นความเชื่อเป็นศิริมงคลครับ บางท่านอาจคิดว่างมงาย เป็นเรื่องของความเชื่อครับ เละความเชื่อตรงนี้ ไม่ทำร้าย ให้ร้ายใคร ต้องบุกน้ำลุยไฟหรือยุ่งยากลำบากจนเกินไป การไหว้พระการบูชาด้วยดอกไม้เป็นสิ่งที่เป็นมงคล ถ้าไม่ติดขัดอะไรผมแนะนำให้ทำครับส่วนเรื่องสายสิญจ์ผูกพวงมาลัยรถ ผูกรถ หรือแป้งเจิมรถ ถ้าไม่สะดวกให้พระที่นับถือ หรือผู้ใหญ่ที่นับถือผูกให้ ก็ให้คุณพ่อคุณแม่ผูกให้ก็ได้ครับ การที่ลูกมีรถใหม่ มีความเจริญก้าวหน้า ความยินดี ภูมิใจปลื้มใจของพ่อแม่ เป็นพรที่ดีเป็นศิริมงคลที่สุดสำหรับลูกแล้วครับ
Credit by : Autointhai